พื้นที่หายไปไหน
คำถามสุดคลาสิกที่ไม่ว่าคุณจะใช้โทรศัพท์รุ่นไหน OS อะไรก็ตาม จะต้องสงสัยเมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาดูแล้วพบว่าหน่วยความจำในเครื่อง (Internal Memory) หรือ Harddisk หรือ Memory Card ที่ซื้อมานั้นมีขนาดไม่เท่ากับสเปคที่เขียนเอาไว้ตามเว็บ หรือเป็นไปตามที่แต่ละแบรนด์ได้โฆษณาไว้ จนมีหลายๆคนเข้าใจผิดว่าเครื่องมีปัญหารึเปล่า ซึ่งอาการนี้ไม่ว่าคุณจะใช้ Samsung Galaxy, Sony Xperia, HTC One, Apple iPhone, Nokia Lumia, หรือแบรนด์ใดๆก็ตามจะเจอเหมือนกันหมดนั่นก็เพราะมันเป็นไปตามสมการนี้
หน่วยความจำใช้งานจริง = หน่วยความจำทั้งหมด - พื้นที่ OS - พื้นที่ฟีเจอร์เพิ่มเติม - ค่าความคลาดเคลื่อนของหน่วยความจำ
มึนมะ? เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น จะลองแทนตัวเลขลงสมการให้นะ
ตัวอย่าง Samsung Galaxy S4
หน่วยความจำทั้งหมด = 16GB
พื้นที่ของ Android OS = 2GB (ค่าสมมติ)
พื้นที่ฟีเจอร์เพิ่มเติมเฉพาะใน Samsung Galaxy S4 = 3.94 (ค่าสมมติ)
ค่าความคาดเคลื่อนของหน่วยความจำ = 1.1GB (ราว 7% ของหน่อยความจำทั้งหมด)
ฉะนั้นพื้นที่หน่วยความจำคงเหลือใช้งานจริงเท่ากับ 16 - 3 - 2.94 - 1.1 = 8.96GB
เฮ้ย! ทำไม Android OS มันถึงได้กินพื้นที่เยอะขนาดนั้น? feature เพิ่มเติมเฉพาะใน S4 มันคืออะไร? แล้วค่าความคลาดเคลื่อนอีก? มาค่อยๆดูจำแนกไปทีละข้อกันครับ
พื้นที่ของ Android OS
PC Desktop ทั้งหลายที่เวลาเราซื้อคอมมาก็ต้องมีการลง Windows ก่อนซึ่งก็จะกินพื้นที่ไปหลายกิ๊กกะไบท์ มือถือ Android ก็ไม่ต่างกัน เครื่องจะทำงานได้ก็ต้องมีการลงระบบปฎิบัติการณ์ (OS) ก่อนเสมอ โดยตัว Android พื้นฐานแบบไม่มีการเสริมเติมแต่ง จะกินพื้นที่ราวๆ 2GB (เทียบจาก Nexus 4) หรืออาจจะน้อยกว่านี้ในกรณีที่ผู้ผลิตมีการถอดฟีเจอร์บางอย่างออกไปในรุ่น ราคาต่ำๆ เพื่อให้ประหยัดพื้นที่ และทำงานได้ลื่นขึ้นครับ
พื้นที่หน่วยความจำคงเหลือบน Nexus 4
พื้นที่ฟีเจอร์เพิ่มเติม
โดยปกติ Android จะมีหน้าตาและฟีเจอร์ทำมาพร้อมกับ OS อยู่แล้ว หรือที่บางคนเรียกลักษณะแบบนี้ว่า Pure Google หรือ Plain Vanilla ซึ่งหากว่าทุกแบรนด์นำเอา Android แบบเพียวๆนี้ไปทำเครื่องให้เหมือนกันหมด มันก็จะไม่เกิดความแตกต่างกันระหว่างแบรนด์ ทำให้ต้องมีการปรับแต่งสร้างหน้าตา ฟีเจอร์ และเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละแบรนด์ขึ้นมา เช่น HTC Sense 5 UI, Oppo Firefly UI, Samsung TouchWiz UI, Huawei Emotion UI
ซึ่งการปรับแต่งนี้ก็ต้องมีการใช้หน่วยความจำเพิ่มเติม มากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละแบรนด์ อาจจะน้อยหน่อยสำหรับแบรนด์ที่ไม่ได้ทำอะไรมาก แต่อย่าง TouchWiz ของ Samsung ก็อาจจะกินพื้นที่สูงถึง 3-4 GB เลยก็เป็นได้ และหลายๆครั้งพวก Proprietary UI เหล่านี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องช้าหน่วงได้เช่นกัน จนเป็นที่มาของเหล่าผู้โหยหาเครื่องสเปคแรงๆที่เป็น Google Edition อย่าง Galaxy S4 หรือ HTC One เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียพื้นที่ ได้ซอฟท์แวร์เสถียรๆ รวมถึงได้รับการอัพเดทเวอร์ชั่นแอนดรอยด์ก่อนใครนั่นเอง
ค่าความคลาดเคลื่อนของหน่วยความจำ
ค่าความคลาดเคลื่อนนี้เป็นสุดยอดปัญหาคลาสสิกในวงการ IT เลยทีเดียว เพราะไม่ว่าคุณจะใช้หน่วยความจำแบบไหน HDD หรือจะเป็น Memory Card อะไรก็ตาม ปัญหาเช่นนี้ก็เกิดเหมือนกันหมด ซึ่งสาเหตุนั้นเกิดจากการที่มาตรฐานการนับพื้นที่หน่วยความจำของผู้ผลิต Harddisk กับคนทำ OS/Software ต่างๆ ดันนับไม่ตรงกัน โดยทางฝั่งผู้ผลิต Harddisk (รวมถึงคนที่เอามาทำการตลาด) นับพื้นที่เป็นหน่วยฐาน 10 (decimal) แต่คนทำ Software ดันนับพื้นที่เป็นหน่วยฐาน 2 (binary) ค่า Kilobyte ในเลขฐาน 10 นั้นเท่ากับ 1000 ส่วนในเลขฐาน 2 เท่ากับ 1024 (มาจาก 2^10) จึงมีความคลาดเคลื่อนกันอยู่ และความคลาดเคลื่อนในระดับ Kilobyte และ Megabyte นั้นก็กลับไม่เท่ากัน และยังค่อยๆมากขึ้นเรื่อยๆอีกด้วย โดยเริ่มตั้งแต่ระดับ Kilo ที่คาดเคลื่อนราวๆ 2% ไปถึงระดับ Yotta (ล้านล้านล้านล้าน) ซึ่งคาดเคลื่อนมากถึง 17%!!
Prefix |
Bin ÷ Dec |
Dec ÷ Bin |
Percentage difference |
1.024 |
0.9766 |
+2.4% or −2.3% |
|
1.049 |
0.9537 |
+4.9% or −4.6% |
|
1.074 |
0.9313 |
+7.4% or −6.9% |
|
1.100 |
0.9095 |
+10.0% or −9.1% |
|
1.126 |
0.8882 |
+12.6% or −11.2% |
|
1.153 |
0.8674 |
+15.3% or −13.3% |
|
1.181 |
0.8470 |
+18.1% or −15.3% |
|
1.209 |
0.8272 |
+20.9% or −17.3% |
จากตารางนี้จะเห็นได้ว่าระดับ Gigabyte ที่เราใช้กันอยู่นี้จะคลาดเคลื่อนราวๆ 7% ฉะนั้น ถ้าเราซื้อ Harddisk หรือ Memory Card ขนาดใดก็ตามมา ให้คูณ 0.9313 เข้าไปถึงจะเป็นพื้นที่จริงที่เราพึงจะมี
ตัวอย่าง ถ้าเราซื้อ micro SD card ขนาด 32GB พื้นที่บนการ์ดของเราจะหายไปทันทีประมาณ 2GB หรือมากกว่า (32 x 0.9313) จากค่าความคลาดเคลื่อนนี้เอง
ที่มา : droidsans.com